52.สภาพแวดล้อมที่มีผลต่อการสร้างสรรค์วัฒนธรรมไทย
สภาพแวดล้อมที่มีผลต่อการสร้างสรรค์วัฒนธรรมไทย
1.
ลักษณะของภูมิประเทศ
การสร้างสรรค์วัฒนธรรมไทยจะขึ้นอยู่กับลักษณะภูมิประเทศ
ซึ่งจะมีความแตกต่างกันไปในแต่ละภูมิภาคโดยในภาคเหนือและภาคตะวันตก
ซึ่งพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขาสูง
ประชาชนก็มีวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับที่สูง เช่น
การสร้างบ้านเรือนอยู่บนที่สูง ประกอบอาชีพบนที่สูง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
เป็นที่ราบสูงจะเป็นวัฒนธรรมที่สัมพันธ์กับที่ราบสูง เช่น
การปลูกพืชไร่ที่ใช้น้ำน้อย การเลือกทำเลในการสร้างชุมชนบนโคกใกล้แหล่งน้ำ
ส่วนภาคกลางที่เป็นเขตราบลุ่มแม่น้ำ
วัฒนธรรมของประชาขนก็จะสัมพันธ์กับพื้นที่ราบลุ่ม เช่น การแข่งเรือ การทำนา
การประมงน้ำจืด
ส่วนพื้นที่ในเขตภาคใต้ที่เป็นสันเขาบริเวณตอนกลางของภาคแล้วลาดเอียงไปทาง
ทิศตะวันตกและทิศตะวันออกเป็นชายฝั่งทะเลที่ยาว
วัฒนธรรมของประชาชนก็จะสัมพันธ์กับทะเล เช่น การประมงทะเล
การมีภาษาพูดที่เร็ว
2.
ลักษณะของภูมิอากาศ
วัฒนธรรมของไทยจะมีความสัมพันธ์กับลักษณะของภูมิอากาศเป็นอย่างยิ่ง เช่น
ในพื้นที่ที่มีลักษณะอากาศที่หนาวเย็น ในภาคเหนือของไทย
ประชาชนก็มีการสวมใส่เครื่องนุ่งห่มที่หนาเพื่อป้องกันอากาศหนาว
รับประทานอาหารที่มีไขมัน
การสร้างบ้านเรือนที่มีประตูหน้าต่างมิดชิดเพื่อป้องกันอากาศหนาว
ส่วนในเขตที่มีอากาศที่ร้อนและแห้งแล้ง เช่น ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ภาคกลางและภาคตะวันออกของไทย
ประชาชนก็จะมีวัฒนธรรมเกี่ยวกับการปรับตัวให้เหมาะสม เช่น
การเป็นผู้ที่มีความอดทนต่อความลำบาก การใช้น้ำอย่างรู้คุณค่า
มีประเพณีบุญบั้งไฟ การแห่นางแมวเพื่อขอฝน
การสร้างบานเรือนทรงสูงเพื่อให้สามารถระบายอากาศได้ดี
ในภาคใต้ที่มีฤดูฝนที่ยาวนานถึง 8 เดือน ในรอบ 1 ปี
ประชาชนก็จะมีวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง เช่น
การสร้างบ้านชั้นเดียวที่มีหลังคาทรงสูง
มีความลาดเอียงเพื่อให้สามารถระบายน้ำฝนได้ดี การประกอบอาชีพทำสวนยาง
3.
ความศรัทธาในหลักคำสอนของพระพุทธศาสนา
พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติของไทยมาตั้งแต่สมัยสุโขทัยจนถึงปัจจุบัน
ประชาชนส่วนใหญ่ของไทยนับถือศาสนาพุทธ
ดังนั้นคนไทยจึงยึดมั่นในคำสอนของพระพุทธศาสนาอย่างมั่นคง
การสร้างสรรค์ทางวัฒนธรรมด้านต่างๆของไทย
จึงมีความเกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนาทั้งสิ้น
การสืบทอดและการเปลี่ยนแปลงของวัฒนธรรม
คุณ
ค่าของภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทยดังกล่าวมาแล้ว
เปรียบเสมือนสายใยของความผูกพันที่ส่งต่อจากบรรพบุรุษมายังคนรุ่นหลัง
แต่ความผูกพันที่แสดงถึงความเป็นไทยนี้กำลังจะถูกลบเลือนไปในกระแสโลกาภิวัต
น์
สุนทรียภาพอันเกิดจากภาษาดัดแปลงไปจากเดิมอย่างน่าวิตกไม่ว่าจะเป็นการพูด
หรือเขียน เช่น เวลาพูดใช้ภาษาไทยคำภาษาต่างชาติคำ
หรือการตัดพยางค์เพื่อให้คำสั้นลง
ความไพเราะเพราะพริ้งของดนตรีของไทยถูกแทนที่ด้วยบทเพลงและเครื่องดนตรีสมัย
ใหม่ วัฒนธรรมที่ดีงามถูกครอบงำจากธุรกิจทุนนิยมภายใต้ชื่อใหม่ว่า
การส่งเสริมการท่องเที่ยวไทย ความเอื้ออาทร ความห่วงใย
และความปรารถนาดีที่จะให้ผู้อื่นมีความสุข
ด้วยเหตุนี้ การสืบทอดภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทยเพื่อธำรงไว้ซึ่งความเป็นไทย เป็นสิ่งที่ต้องดำเนินการ สำหรับวิธีการที่ควรกระทำคือ
1.
ปลูกฝังและถ่ายทอดภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทยอย่างเป็นระบบ
โดยเฉพาะในเด็กและเยาวชนเพื่อให้ตระหนักในคุณค่าของภูมิปัญญาไทย เช่น
เพลงไทยเดิม การละเล่น การดนตรี เป็นต้น
2. รณรงค์เพื่อเป็นการปลูกจิตสำนึกให้แก่คนไทยได้ปฏิบัติตามวัฒนธรรมไทยอย่างจริงจังและต่อเนื่อง
3. สนับสนุนและส่งเสริมงานพิพิธภัณฑ์ระดับท้องถิ่น เพื่อการอนุรักษณ์และพัฒนาวัฒนธรรมท้องถิ่น
4. ส่งเสริมสถาบันครอบครัวให้เข้ามาเป็นสถาบันหลักในการอนุรักษ์และพัฒนาวัฒนธรรมไทย
5. หลักสูตรของสถานศึกษาในทุกระดับต้องกำหนดให้มีการเรียนการสอนภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทยเพื่อแสดงความเป็นไทย
6.
ส่งเสริมให้มีการนำภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทยเมาประยุกต์กับการตลาดเพื่อการ
ผลิตและการเผยแพร่ให้นานาประเทศได้รู้จักภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทยอย่างกว้าง
ขวาง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น