35.องค์การของสนธิสัญญาซีโต้
องค์การของสนธิสัญญาซีโต้
ซีโต้ South East Asia Collection Defence Treaty คือ องค์การของสนธิสัญญาการป้องกันร่วมกันแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (สปอ.)
การลงนาม ในสนธิสัญญามีขึ้น เมื่อวันที่ 8 กันยายน ค.ศ. 1954 ที่กรุงมนิลา ประเทศฟิลิปปินส์
จึงรู้จักกันในอีกชื่อหนึ่งว่ากติกามนิลา มีสมาชิก คือ ไทย สหรัฐอเมริกา ฟิลิปปินส์ ปากีสถาน ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ อังกฤษ และฝรั่งเศส
จุดประสงค์
เพื่อยับยั้งการขยายตัวของคอมมิวนิสต์ มายังภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2498
ซีโต้ก่อตั้งขึ้นในระหว่างการประชุมคณะมนตรีสนธิสัญญาในกรุงเทพฯ
ระหว่างวันที่ 23 – 25 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1955
เหตุการณ์หลังสงครามโลกครั้งที่ 2
สหรัฐ
อเมริกาเสียหายน้อยกว่าประเทศคู่สงครามในยุโรป
ทั้งยังเป็นประเทศที่มีความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจและเทคโนโลยีสูง
และเป็นประเทศแรก ที่สามารถผลิตอาวุธนิวเคลียร์ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2
จึงมีความรู้สึกว่า ตนเป็นตำรวจโลก
เพื่อพิทักษ์ไว้ซึ่งวิถีทางประชาธิปไตยและเสรีภาพ
หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 สหภาพโซเวียต ฟื้นตัว อย่างรวดเร็ว เพราะพื้นที่กว้างใหญ่มีทรัพยากรธรรมชาติมาก สามารถผลิตอาวุธนิวเคลียร์ได้สำเร็จ
สหภาพโซเวียตต้องการเป็นผู้นำในการปฏิวัติโลก เพื่อสถาปนาระบบสังคมนิยมคอมมิวนิสต์
ดัง
นั้น ทั้งสองอภิมหาอำนาจ จึงใช้ความช่วยเหลือที่ให้แก่ประเทศต่างๆ
เป็นเครื่องมือในการขยายอิทธิพล อำนาจ และอุดมการณ์ของตน
เพื่อหาประเทศที่มีอุดมการณ์คล้ายคลึงกันมาเป็นเครื่องถ่วงดุลอำนาจกับฝ่าย
ตรงข้าม
การ
ขยายตัวของลัทธิคอมมิวนิสต์ ในภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้
เริ่มจากอินโดจีน คือ ประเทศเวียดนาม เขมร และลาว
ซึ่งได้รับอิทธิพลจากประเทศฝรั่งเศส
เวียดนาม
ถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วน โดยใช้เส้นขนานที่ 17 องศาเหนือเป็นเขตแบ่งชั่วคราว
เวียดนามเหนืออยู่ใต้การปกครองของลัทธิคอมมิวนิสต์ มีโฮจิมินห์เป็นผู้นำ
เวียดนามใต้ปกครองระบอบประชาธิปไตย มีโงดินห์เดียมเป็นผู้นำ
(ได้รับความช่วยเหลือจากสหรัฐอเมริกา)
โดย
ให้มีการเลือกตั้งทั่วไปในเวลา 1 ปี เพื่อรวมเวียดนามเป็นประเทศเดียวกัน
แต่การเลือกตั้งก็ไม่ได้เกิดขึ้น
เพราะเกิดการสู้รบระหว่างเวียดนามเหนือและเวียดนามใต้
การขยายตัวของลัทธิคอมมิวนิสต์เข้ามาในอินโดจีน ทำให้สหรัฐอเมริกานำนโยบายล้อมกรอบการขยายตัวของลัทธิคอมมิวนิสต์มาใช้ในเอเซียด้วย
นายจอห์น ฟอสเตอร์ ดัลเลส รัฐมนตรีต่างประเทศของสหรัฐอเมริกาขณะนั้นประกาศอย่างแข็งขันว่าจะไม่ยอมให้ลัทธิคอมมิวนิสต์ขยายตัวต่อไป
โดย
เชื่อมั่นในทฤษฏีโดมิโนว่า
ถ้าประเทศใดในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของคอมมิวนิสต์แล้ว
ประเทศใกล้เคียงอื่นๆ ก็จะพลอยเป็นคอมมิวนิสต์ไปด้วย
ในวันที่ 8 กันยายน ค.ศ.1954 จึงได้มีการสนธิสัญญาที่กรุงมะนิลา เพื่อจัดตั้งองค์การสนธิสัญญาเอเซียตะวันออกเฉียงใต้
โดย
ประกอบด้วย 8 ประเทศ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ไทย ฟิลิปปินส์ ปากีสถาน
สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์
ด้วยวัตถุประสงค์ทำนองเดียวกับนาโต้
ซีโต้ยุบเลิกเมื่อปี พ.ศ. 2520 เนื่องจากสถานการณ์ทางการเมืองของโลกได้เปลี่ยนไปมาก สหรัฐอเมริกาถอนกำลังทหารออกจาก เวียดนามใต้
และ
รัฐบาลที่อเมริกาสนับสนุนประสบความพ่ายแพ้ทั้งในเวียดนาม ลาว และกัมพูชา
และทำให้องค์การซีโต้หมดความจำเป็น
ในฐานะเครื่องมือในการดำเนินนโยบายต่างประเทศของสหรัฐอเมริกาในภูมิภาคนี้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น