29.ความขัดแย้งทางศาสนา
ความขัดแย้งทางศาสนา
ความขัดแย้งทางศาสนาคือการไม่ลงรอยกัน การไม่ถูกกัน ความคิดไม่ตรงกัน ความพยายามอยากเป็นเจ้าของและความเป็นคนต่างมุมมอง
ประเทศ
ต่างๆ ในโลกจะมีการนับถือศาสนาที่แตกต่างกันไป
ซึ่งในบางครั้งอาจเกิดจากการกระทบกระทั่งกันขึ้น
ซึ่งนำไปสู่การสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สิน
ของประชาชนจำนวนมากซึ่งเกิดมาจากความศรัทธาในศาสนาที่ตนนับถือ
โดยผู้ที่นับถือศาสนาอื่นคิดว่าพวกตนไม่ได้รับความเป็นธรรม จึงเกิดความขัดแย้งขึ้น โดยเหตุการณ์ความขัดแย้งทางศาสนาที่สำคัญ ได้แก่
- ปัญหาความขัดแย้งในประเทศเลบานอน
- ปัญหาความขัดแย้งระหว่างอินเดียวกับปากีสถาน
- ปัญหาความขัดแย้งระหว่างชาวพุทธกับฮินดูในศรีลังกา
- ปัญหาความขัดแย้งในประเทศอิรักระหว่างนิการยสุนนี่กับชีอะห์
- ปัญหาความขัดแย้งระหว่างผู้นับถือศาสนาต่างๆ ในประเทศอินเดีย เป็นต้น
ปัญหาความขัดแย้งในประเทศเลบานอน
ประเทศ
เลบานอนเป็นประเทศที่ตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันตกเฉียงใต้
เป็นดินแดนที่มีความอุดมสมบูรณ์
จึงมีประชาชนหลายเชื้อชาติที่นับถือศาสนาแตกต่างกัน
แต่
มีผู้นับถือศาสนาอิสลามมากที่สุดมาอาศัยอยู่ร่วมกัน
ต่อมานักการเมืองที่นับถือศาสนาอิสลามมีอำนาจ
จึงถูกมองว่าเอื้อประโยชน์ให้กับชาวมุสลิมมากเกินไป
จึงนำไปสู่ปัญหาความขัดแย้งเป็นสงครามกลางเมืองที่ยังไม่จบสิ้นมาจนถึงปัจจุบัน
ปัญหาความขัดแย้งระหว่างอินเดียกับปากีสถาน
มี
สาเหตุสำคัญมาจากการแย่งกรรมสิทธิ์ปกครองเหนือรัฐแคชเมียร์
ซึ่งเป็นผลมาจากในสมัยอาณานิคมที่อังกฤษ
ใช้นโยบายแบ่งแยกแล้วปกครองในภูมิภาคเอเชียใต้
ต่อมาเมื่อดินแดนแห่งนี้ได้รับเอกราช ก็แยกประชาชนที่นับถือศาสนาอิสลามไปอยู่ในประเทศปากีสถาน และบังกลาเทศ
ส่วน
ผู้นับถือศาสนาฮินดูก็อยู่กับประเทศอินเดีย
แต่ในกรณีของรัฐแคชเมียร์ที่ตั้งอยู่ระหว่างอินเดียและปากีสถาน
ซึ่งประชาชนส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม
ประชาชน
ส่วนใหญ่ต้องการที่จะไปรวมกับประเทศปากีสถาน
แต่ผู้ปกครองคือมหาราชาเป็นผู้ที่นับถือศาสนาฮินดู
จึงนำรัฐแคชเมียร์ไปขึ้นอยู่กับอินเดีย
จึง
เกิดการแย่งชิงและทำสงครามระหว่างอินเดียและปากีสถานถึง 3 ครั้ง
และในปัจจุบันปัญหาความขัดแย้งยังคงอยู่
โดยเป็นความขัดแย้งระหว่างผู้ที่นับถือศาสนาฮินดูกับอิสลาม
ปัญหาความขัดแย้งในประเทศอิรักระหว่างนิกายสุนนี่กับชีอะห์
ภายหลังจากการสิ้นสุดสงครามระหว่างสหรัฐกับอิรัก ที่สามารถยึดอำนาจนายซัดดัม ฮุสเซนได้แล้ว
สหรัฐอเมริกาได้เข้าไปจัดระเบียบทางด้านต่างๆ ในประเทศอิรักใหม่ทุกด้าน เพื่อฟื้นฟูประเทศให้กลับมามีความเจริญรุ่งเรืองดังเดิม
แต่
ก็ต้องประสบกับปัญหาความขัดแย้งอย่างรุนแรง ของผู้ที่นับถือศาสนาอิสลาม 2
นิกาย คือ นิกายชีอะห์
ซึ่งเป็นประชากรส่วนใหญ่ของประเทศกับนิกายซุนนีย์ที่เป็นชนกลุ่มน้อย
โดยในอดีตผู้ที่นับถือนิกายชีอะห์ ไม่ค่อยมีบทบาทในการปกครองประเทศมากนัก เนื่องจากผู้นำคือ ซัดดัม ฮุสเซน เป็นผู้ที่นับถือซุนนีย์
เมื่อ
มีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง
ชาวชีอะห์จึงมีการเรียกร้องการมีส่วนร่วมในการปกรองประเทศมากขึ้น
ทำให้ชนกลุ่มน้อยที่นับถือศาสนาอิสลามนิกายซุนนีย์
เกิดความไม่พอใจนำไปสู่การใช้กำลังเข้าต่อสู้กัน
เกิดปัญหาความวุ่นวายในอิรักมาจนถึงปัจจุบัน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น