44.การตั้งถิ่นฐานของชนชาติไทย
การตั้งถิ่นฐานของชนชาติไทย
สมัยกรุงธนบุรีและกรุงรัตนโกสินทร์
รัชกาลที่ 1
ทรงฟื้นฟูระบบสังคมและการเมืองของราชอาณาจักรอยุธยา
ทรงออกประมวลกฎหมายใหม่ ทรงฟื้นฟูพิธีในราชสำนัก และทรงบัญญัติวินัยสงฆ์
การปกครองแบ่งเป็นหกกรม โดยในจำนวนนี้ สี่กรมมีหน้าทีปกครองดินแดนโดยเฉพาะ
กรมกลาโหมปกครองทางใต้
กรมมหาดไทยปกครองทางเหนือและตะวันออก
กรมพระคลังปกครองดินแดนที่อยู่ทางใต้ของพระนคร
และกรมเมืองปกครองพื้นที่รอบกรุงเทพมหานคร
ส่วนอีกสองกรมนั้นคือ กรมนาและกรมวัง
กอง
ทัพอยู่ภายใต้การควบคุมของอุปราช ซึ่งเป็นพระอนุชาในพระมหากษัตริย์พม่า
ซึ่งเห็นความวุ่นวาย ประกอบกับการโค่นล้มสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี
ได้รุกรานสยามอีกใน พ.ศ. 2328
ฝ่ายสยามแบ่งกำลังออกเป็นหลายเส้นทาง ซึ่งกองทัพทางตะวันตกได้บดขยี้ทัพพม่าใกล้จังหวัดกาญจนบุรี
นี่
เป็นการรุกรานสยามใหญ่ครั้งสุดท้ายของพม่า พ.ศ. 2345
พม่าถูกขับออกจากล้านนา พ.ศ. 2335 สยามยึดครองหลวงพระบาง
และนำดินแดนลาวส่วนใหญ่มาอยู่ใต้การปกครองโดยอ้อมของสยาม
กัมพูชา
อยู่ภายใต้การปกครองของสยามอย่างเต็มที่ และกระทั่งสวรรคตใน พ.ศ. 2352
พระองค์ทรงสถาปนาความเป็นเจ้าของสยามเหนือดินแดนที่ใหญ่กว่าประเทศไทย
ปัจจุบันอยู่มาก
การปกครองสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น
ในสมัยรัชกาลที่ 1-3 พระมหากษัตริย์ทรงมีพระราชอำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศ การจัดระเบียบการปกครองยังคงยึดถือตามแบบอย่างสมัยอยุธยาตอนปลาย มีดังนี้
การปกครองส่วนกลาง มีเสนาบดีทำหน้าที่บริหารราชการ ได้แก่
สมุหกลาโหม มีอำนาจบังคับบัญชาหัวเมืองฝ่ายใต้ ทั้งทหารและพลเรือน
สมุหนายก มีอำนาจบังคับบัญชาหัวเมืองฝ่ายเหนือ ทั้งกิจการทหารและพลเรือนเทียบเท่ากระทรวงมหาดไทยในปัจจุบัน
เสนาบดีจตุสดมภ์ เป็นตำแหน่งรองลงมา ประกอบด้วย
-กรมเวียง ดูและความสงบเรียบร้อยของราษฎรทั่วไป
-กรมวัง ดูแลงานพระราชพิธีต่างๆ และการพิจารณาคดี
-กรมคลังหรือกรมท่า ดูแลด้านการเงินและการต่างประเทศ
-กรมนา ดูแลไร่นาทั่วราชอาณาจักร
การปรับปรุงกฏหมายและการศาล
กฎหมาย
ตราสามดวง พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก
โปรดเกล้าฯให้รวบรวมและชำระกฎหมายเก่าที่ใช้กันมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา
และคัดลอกไว้ 3 ฉบับ ทุกฉบับประทับตราคชสีห์ ราชสีห์ และตราบัวแก้ว
จึงเรียกว่ากฎหมายตราสามดวง
ต่อมารัชกาลที่ 5 ได้ทรงปรับปรุงการปกครอง ได้ทรงประกาศยกเลิกระบบจตุสดมภ์แล้วตั้งกระทรวงสมัยใหม่ขึ้นมา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น