3.ประวัติศาสตร์กับเวลา
ประวัติศาสตร์กับเวลา
1. พุทธศักราช (พ.ศ.)
.......มีวิธีนับแตกต่างกันเป็น 2 แบบ คือ
.......1.1 แบบไทย ลาว เขมร เริ่มนับจากปีที่พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน วันแรกของ พ.ศ. 1 จึงตรงกับวันแรม 1 ค่ำ เดือน 6 ปีมะเมีย
.......1.2 แบบลังกา พม่า อินเดีย นับ ปีที่พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน เป็น พ.ศ. 1 พุทธศักราชแบบลังกาจึงมากกว่าพุทธศักราชแบบไทย 1 ปี เช่น เมือประเทศไทย พ.ศ. 2500 ประเทศศรีลังกา เป็น พ.ศ. 2501
2.คริสต์ศึกราช (ค.ศ.)
....... เป็นศักราชที่ผู้นับถือคริสต์ศาสนาตั้งขึ้น โดยเริ่มตั้งแต่วันที่เชื่อกันว่าเป็นวันพระราชสมภพของพระเยซูเป็นต้นมา ภาษาอังกฤษใช้ A.D.
....... ปีก่อนคริสต์ศักราช ใช้คำว่า ก่อนคริสต์ศักราช คริสต์ศักราชน้อยกว่าพุทธศักราช 543 ปี ดังนั้น ใช้จำนวน 543 นี้เป็นเกณฑ์บวกลบ เพื่อเปลี่ยนศักราชระหว่าง พ.ศ. กับ ค.ศ.
....... คริสต์ศักราชเริ่มปีใหม่ในวันที่ 1 มกราคม และสิ้นปีวันที่ 31 ธันวาคม ศักราชนี้เป็นศักราชสากลใช้กันแพร่หลายทั่วโลก ไม่เฉพาะแต่ประเทศที่นับถือศาสนาคริสต์เท่านั้น
3.มหาศักราช (ม.ศ.)
.......ผู้ตั้งคือ พระเจ้ากนิษกะ กษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่ของพวกกษณะ เป็นชนชาติที่เข้าไปครอบครองอินเดียทางตะวันตกเฉียงเหนือ
.......มหาศักราชมีอายุน้อยกว่าพุทธศักราช 621 ปี
4.จุลศักราช (จ.ศ.)
....... ตั้งขึ้นเมื่อปีกุน พ.ศ. 1182 โดยกษัตริย์เมืองพุกาม ซึ่งอยู่ในดินแดนพม่าตอนเหนือ ซึ่งกษัตริย์องค์นี้เดิมเป็นพระสังฆราช มีความเชี่ยวชาญด้านโหราศาสตร์ ได้ลาสิกขาออกมาชิงราชบัลลังก์พระเจ้าตุนชิต แล้วลบหรือเลิกศักราชที่ใช้อยู่เดิม
5.รัตนโกสินทร์ศก (ร.ศ.)
....... เป็นศักราชที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าอยู่หัว ร.5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2432 โดยให้นับปีที่ ร.1 สถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อปีขาล พ.ศ. 2325 เป็น ร.ศ. 1 ให้เริ่มใช้ศักราชนี้ในราชการตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน เป็นปีแรก
6.ฮิจเราะห์ศักราช (ฮ.ศ.)
....... เป็นศักราชของผู้นับถือศาสนาอิสลามนับตั้งแต่ท่านบีมุฮัมมัด ศาสดาของศาสนาอิสลามเริ่มอพยพพวกมุสลิมจากนครเมกกะไปยังเมือเมดินะห์ ใน ค.ศ. 622 ตรงกับปีมะเมีย พ.ศ. 1165 สาเหตุของการอพยพเกิดจากแนวคำสอนที่ท่านนบีฮุมมัดเผยแพร่ออกไปถูกต่อต้านจาก ฝ่ายตรงข้าม และมีผู้ปองร้ายเอาชีวิตจึงต้องอพยพออกไป ซึ่งเป็นการอพยพครั้งสำคัญที่สุดในประวัติศาสตร์ศาสนาอิสลาม
....... การนับเดือนในฮิจเราะห์ศักราช เป็นการนับทางจันทรคติ คือ ถือเอาการโคจรของดวงจันทร์เป็นหลัก เดือนหนึ่งจึงมี 29 วันบ้าง 30 วันบ้าง รวมทั้งปีได้ 354 วัน และไม่มีการคิดอธิกมาสอย่างการนับเดือนไทย ปีหนึ่ง ของศักราชนี้จึงน้อยกว่าศักราชอื่นๆ ทำการเทียบเปลี่ยนศักราชทำได้ยาก
.......มีวิธีนับแตกต่างกันเป็น 2 แบบ คือ
.......1.1 แบบไทย ลาว เขมร เริ่มนับจากปีที่พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน วันแรกของ พ.ศ. 1 จึงตรงกับวันแรม 1 ค่ำ เดือน 6 ปีมะเมีย
.......1.2 แบบลังกา พม่า อินเดีย นับ ปีที่พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน เป็น พ.ศ. 1 พุทธศักราชแบบลังกาจึงมากกว่าพุทธศักราชแบบไทย 1 ปี เช่น เมือประเทศไทย พ.ศ. 2500 ประเทศศรีลังกา เป็น พ.ศ. 2501
2.คริสต์ศึกราช (ค.ศ.)
....... เป็นศักราชที่ผู้นับถือคริสต์ศาสนาตั้งขึ้น โดยเริ่มตั้งแต่วันที่เชื่อกันว่าเป็นวันพระราชสมภพของพระเยซูเป็นต้นมา ภาษาอังกฤษใช้ A.D.
....... ปีก่อนคริสต์ศักราช ใช้คำว่า ก่อนคริสต์ศักราช คริสต์ศักราชน้อยกว่าพุทธศักราช 543 ปี ดังนั้น ใช้จำนวน 543 นี้เป็นเกณฑ์บวกลบ เพื่อเปลี่ยนศักราชระหว่าง พ.ศ. กับ ค.ศ.
....... คริสต์ศักราชเริ่มปีใหม่ในวันที่ 1 มกราคม และสิ้นปีวันที่ 31 ธันวาคม ศักราชนี้เป็นศักราชสากลใช้กันแพร่หลายทั่วโลก ไม่เฉพาะแต่ประเทศที่นับถือศาสนาคริสต์เท่านั้น
3.มหาศักราช (ม.ศ.)
.......ผู้ตั้งคือ พระเจ้ากนิษกะ กษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่ของพวกกษณะ เป็นชนชาติที่เข้าไปครอบครองอินเดียทางตะวันตกเฉียงเหนือ
.......มหาศักราชมีอายุน้อยกว่าพุทธศักราช 621 ปี
4.จุลศักราช (จ.ศ.)
....... ตั้งขึ้นเมื่อปีกุน พ.ศ. 1182 โดยกษัตริย์เมืองพุกาม ซึ่งอยู่ในดินแดนพม่าตอนเหนือ ซึ่งกษัตริย์องค์นี้เดิมเป็นพระสังฆราช มีความเชี่ยวชาญด้านโหราศาสตร์ ได้ลาสิกขาออกมาชิงราชบัลลังก์พระเจ้าตุนชิต แล้วลบหรือเลิกศักราชที่ใช้อยู่เดิม
5.รัตนโกสินทร์ศก (ร.ศ.)
....... เป็นศักราชที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าอยู่หัว ร.5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2432 โดยให้นับปีที่ ร.1 สถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อปีขาล พ.ศ. 2325 เป็น ร.ศ. 1 ให้เริ่มใช้ศักราชนี้ในราชการตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน เป็นปีแรก
6.ฮิจเราะห์ศักราช (ฮ.ศ.)
....... เป็นศักราชของผู้นับถือศาสนาอิสลามนับตั้งแต่ท่านบีมุฮัมมัด ศาสดาของศาสนาอิสลามเริ่มอพยพพวกมุสลิมจากนครเมกกะไปยังเมือเมดินะห์ ใน ค.ศ. 622 ตรงกับปีมะเมีย พ.ศ. 1165 สาเหตุของการอพยพเกิดจากแนวคำสอนที่ท่านนบีฮุมมัดเผยแพร่ออกไปถูกต่อต้านจาก ฝ่ายตรงข้าม และมีผู้ปองร้ายเอาชีวิตจึงต้องอพยพออกไป ซึ่งเป็นการอพยพครั้งสำคัญที่สุดในประวัติศาสตร์ศาสนาอิสลาม
....... การนับเดือนในฮิจเราะห์ศักราช เป็นการนับทางจันทรคติ คือ ถือเอาการโคจรของดวงจันทร์เป็นหลัก เดือนหนึ่งจึงมี 29 วันบ้าง 30 วันบ้าง รวมทั้งปีได้ 354 วัน และไม่มีการคิดอธิกมาสอย่างการนับเดือนไทย ปีหนึ่ง ของศักราชนี้จึงน้อยกว่าศักราชอื่นๆ ทำการเทียบเปลี่ยนศักราชทำได้ยาก
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น