51.การเปลี่ยนแปลงทางด้านโครงสร้างทางสังคมของไทย
การเปลี่ยนแปลงทางด้านโครงสร้างทางสังคมของไทย
การ
เปลี่ยนแปลงทางด้านโครงสร้างทางสังคมของไทยครั้งสำคัญเกิดขึ้นตั้งแต่รัชกาล
ที่ 4 เนื่องจากเป็นภาวะที่ประเทศไทยกำลังประสบกับภัยคุกคามจากชาติตะวันตก
การปฏิรูปสังคมไทยในสมัยรัชกาลที่ 5
1. การเลิกไพร่
เป็นชนชั้นที่มีจำนวนมากที่สุดในสังคม
โดยตราพระราชบัญญัติทหารเพื่อเปิดรับทหาร
เนื่องจากเกรงว่าเมื่อประกาศเลิกไพร่แล้วจะมีทหารน้อยลง
2. การเลิกทาส ทำแบบค่อยเป็นค่อยไป โดยเริ่มจากการประกาศพระราชบัญญัติพิกัดเกษียณอายุลูกทาสไทย พ.ศ. 2417
การเปลี่ยนแปลงทางด้านสังคมวัฒนธรรมไทยหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475
ใน
ปีพุทธศักราช 2475 ในช่วงที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7
ขึ้นครองราชย์นั้น สังคมไทยได้ก้าวสู่ความเป็นอารยะตามแบบตะวันตก
โดย
เฉพาะอย่างยิ่งความเจริญ ที่ปรากฏอยู่ในรูปของวัตถุ ไม่ว่าจะเป็นถนนหนทาง
รถไฟ ไฟฟ้า ประปา เขื่อนชลประทาน โรงพยาบาล ระบบการสื่อสารคมนาคม
ที่ทำการรัฐบาล ห้างร้าน และตึกรามบ้านช่อง ตลอดจนเครื่องใช้อันทันสมัย
อันมีเจ้านายและชนชั้นสูงเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง
ส่วนชาวบ้านสามัญชนเป็นผู้ตาม นอกจากนั้นยังมีการเปลี่ยนแปลงในขนบธรรมเนียมบางอย่างเพื่อให้สอดคล้องกับการปกครองระบบใหม่
ทั้ง
นี้เพราะรัฐบาลต้องติดต่อกับชาติอื่น ๆ ทั่วโลก
จึงต้องปรับปรุงเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมไทยให้เป็นสากลและสอดคล้องกับความเป็นไป
ของโลก
แต่ให้คงเอกลักษณ์ของความเป็นไทยไว้ที่เด่นชัดในสมัยนั้นก็คือ เรื่องการแต่งกายในสมัย จอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี
ได้มีบัญญัติเรียกว่า รัฐนิยม
ซึ่งแสดงนโยบายของประเทศว่าต้องการให้ประชาชนคนไทยรักหวงแหนและภูมิใจในความ
เป็นไทย เช่น ให้ข้าราชการแต่งเครื่องแบบตามที่กำหนด ห้ามสวมกางเกงแพร
ให้ทักทายกันด้วยคำว่า สวัสดี เป็นหลักเพราะถือว่าเป็นคำที่ดี ไพเราะ และมีความหมายอันเป็นมงคล
สรุปที่สำคัญได้ดังนี้
- ค่านิยมให้ความสำคัญด้านวัตถุมากกว่าด้านจิตใจ
- รับวัฒนธรรมในการดำเนินชีวิตจากชาติตะวันตกทุกด้าน
- ประชาชนทุกคนมีสิทธิเสรีภาพเท่าเทียมกัน
- การจัดการศึกษาที่มุ่งให้ผู้เรียนสามารถนำไปประกอบอาชีพเป็นสำคัญ
- สังคมไทยขยายขนาดเป็นสังคมเมือง
- เกิดปัญหาด้านสังคมเพิ่มขึ้น เนื่องจากจำนวนประชากรเพิ่มขึ้นทุกคนต้องแก่งแย่งกันทำมาหากิน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น