41.พัฒนาการทางด้านการเมืองการปกครองของสุโขทัย
พัฒนาการทางด้านการเมืองการปกครองของสุโขทัย
1. ความเจริญด้านการเมืองการปกครองของอาณาจักรสุโขทัย แบ่งเป็น 2 ระยะ
การปกครองสุโขทัยตอนต้น พ.ศ. 1792-1841 อยู่ในรัชสมัย รัชกาลที่ 1-3 มีลักษณะสำคัญ ดังนี้
- พระมหากษัตริย์ทรงมีฐานะเป็นผู้ปกครองสูงสุด
- พระมหากษัตริย์ทรงมีความสัมพันธ์กับราษฎรเสมือนบิดากับบุตร
- ลักษณะการปกครองระบบครอบครัวลดหลั่นกันเป็นชั้นๆ มีการจัดการระบบการปกครองให้ครัวเรือนหลายครัวเรือนรวมกันเป็นบ้าน
- พระมหากษัตริย์ทรงยึดหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาในการบริหารบ้านเมือง ชักชวนให้ประชาชนปฏิบัติธรรมเพื่อที่จะสามารถอยู่ร่วมกันอย่างผาสุก
2. การปกครองสมัยสุโขทัยตอนปลาย พ.ศ. 1841-1981
หลัง
จากพ่อขุนรามคำแหงมหาราชเสด็จสวรรคต อาณาจักรก็เริ่มระส่ำระส่าย พญาเลอไท
ไม่อาจรักษาความมั่นคงไว้ได้ เมืองหลายเมืองแยกตัวเป็นอิสระ
กฎหมาย
ของสุโขทัย คือ กฎหมายสี่บท
และลักษณะความสัมพันธ์กับต่างประเทศเป็นแบบสัมพันธไมตรี
การจัดหัวเมืองแบบกำแพงสามชั้น คือ
เมืองหลวงอยู่ตรงกลางแล้วล้อมรอบด้วยกำแพงสามชั้น ชั้นที่ 1 เมืองลูกหลวง
มี 4 เมือง คือ ศรีสัชนาลัย (เป็นเมืองลูกหลวงที่สำคัญที่สุด) เมืองสระหลวง
เมืองนครชุม เมืองสองแคว ชั้นที่ 2 เมืองพระยามหานคร
เป็นหัวเมืองชั้นนอกที่ทั้งกษัตริย์และประชาชนเป็นคนไทยที่ยอมสวามิภักดิ์
กับสุโขทัย ชั้นที่ 3 เมืองประเทศราชที่ทั้งเจ้าเมือง
และประชาชนเป็นชาวต่างชาติที่ยอมสวามิภักดิ์กับสุโขทัย
การเสื่อมอำนาจของสุโขทัย
การเสื่อมอำนาจของสุโขทัย มีสาเหตุหลัก 4 ประการ คือ
1.
ความเหินห่างระหว่างพระมหากษัตริย์และราษฎร
เนื่องจากประชาชนในอาณาจักรมีมากขึ้น มีการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครอง
ฐานะกษัตริย์เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมที่เคยเป็นบิดามาเป็นพะมหากษัตริย์ผู้ทรง
ธรรม ทำให้เกิดความห่างเหินในความสัมพันธ์เพิ่มมากขึ้น
2.
ความย่อหย่อนทางด้านทหาร เนื่องจากบ้านเมืองสงบเรียบร้อย
ประชาชนจึงอยู่อย่างร่มเย็น
จึงละเลยด้านการทหารกองทัพเกิดความย่อหย่อนเป็นโอกาสให้บรรดาเมืองน้อยใหญ่
แข็งข้อไม่ขึ้นกับสุโขทัย
3.
การถูกตัดเส้นทางเศรษฐกิจ เมืองเมาะตะมะ เป็นเมืองท่าในการขนส่งสินค้า
ต่อมาได้ตั้งตัวและแยกตัวอิสระไม่ขึ้นกับสุโขทัย
ทำให้เส้นทางสุโขทัยถูกตัดขาด
4.
การแตกแยกภายในเนื่องจากการแก่งแย่งชิงอำนาจกัน
ก่อให้เกิดจลาจลถึงขึ้นต้องยกกำลังทหารเข้าปราบปรามในตอนปลายรัชสมัยพระมหา
ธรรมราชาที่ 2 ต่อมาเกิดการแตกแยกอย่างรุนแรงในพระราชวงศ์
จนสิ้นรัชสมัยสมเด็จพระมหาธรรมราชาที่ 4
สุโขทัยถูกผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรอยุธยาอย่างถาวร
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น