วันศุกร์ที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2559

การสร้างสรรค์ภูมิปัญญาไทยสมัยสุโขทัย

56.การสร้างสรรค์ภูมิปัญญาไทยสมัยสุโขทัย


การสร้างสรรค์ภูมิปัญญาไทยสมัยสุโขทัย
1x42.gif

การสร้างสรรค์ผลงานด้านภูมิปัญญาในสมัยสุโขทัยมีตัวอย่างพอสังเขป ดังนี้   
1. การใช้หลักธรรมและคติความเชื่อทางพุทธศาสนาควบคุมพฤติกรรมของคนในสังคม            
การ ปลูกฝังนิสัยของคนไทยในสมัยสุโขทัยให้มีศีลธรรมเพื่อความสงบสุขของสังคมส่วน รวมอาศัยประโยชน์จากการประยุกต์หลักคำสอนในพุทธศาสนา เช่น การนำเรื่องราวในหนังสือไตรภูมิพระร่วงซึ่งเป็นวรรณกรรมปรัชญาชิ้นแรกของไทย ที่พระราชนิพนธ์โดยพระมหาธรรมราชาที่ 1 หรือพระยาลิไทมาสอนจริยธรรมให้คนทำดีและเกรงกลัวต่อบาป
2. การประดิษฐ์อักษรไทยขึ้นมาใช้เป็นแบบฉบับของตนเอง อักษรไทยที่ประดิษฐ์ขึ้นโดยพ่อขุนรามคำแหงมหาราชในปีพ.ศ. 1826 ที่เรียกว่า “ลายสือไทย” เป็นภูมิปัญญาการเขียนอักษรไทยเก่าแก่ที่สุดในประเทศไทยซึ่งดัดแปลงมาจาก อักษรขอมหวัด อักษรหราหมีและอักษรคฤนห์ นอกจากนี้พ่อขุนรามคำแหงมหาราชยังได้ใช้ลายสือไทยบันทึกเรื่องราวพระราช ประวัติและพระราชกรณียกิจของพระองค์ ตลอดจนการเมืองการปกครอง สภาพบ้านเมืองและวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คนสมัยนั้นในศิลาจารึกหลักที่ 1 อีกด้วย
3. การสร้างสรรค์นวัตกรรมด้านประติมากรรมและสถาปัตยกรรม ในสมัยนี้เริ่มมีการนำศิลาแลงมาสร้างอาคารสถานที่ต่างๆ เช่นที่พบเห็นในกำแพงเมืองชั้นในของเมืองศรีสัชนาลัย
นอก จากนี้ยังค้นพบการผสมตะกั่วลงไปในสำริดเพื่อทำให้โลหะหลอมได้ง่ายขึ้น และทำให้วัตถุที่หล่อมีคุณภาพเพียงพอสำหรับทำภาชนะ เครื่องประดับและเครื่องมือเครื่องใช้ที่มีรูปร่างซับซ้อนได้ ยกเว้นประติมากรรมพระพุทธรูปสำริด ซึ่งไม่นิยมผสมตะกั่วลงไปเพราะต้องการสร้างให้แข็งแกร่งทนทาน
4. การแก้ไขปัญหาที่เกิดจากสภาพแวดล้อมตามธรรมชาติ ชาวสุโขทัยได้ใช้ภูมิปัญญาในการแก้ไขข้อจำกัดทางธรรมชาติและสภาพภูมิประเทศ ด้วยการสร้างระบบชลประทาน โดยมีการชักน้ำจากที่สูงทางด้านตะวันตกของสุโขทัยด้วยการสร้างแนวคันดิน เพื่อทำหน้าที่บังคับทิศทางของน้ำให้ไหลจากหุบเขามาสู่คูเมืองและสระน้ำใน เมือง แนวคันดินสำหรับเบี่ยงเบนทิศทางของน้ำนี้เรียกว่า “ทำนบพระร่วง” หรือที่นักวิชาการหลายท่านเรียกชื่อว่า “สรีดภงส์”
ตาม ชื่อที่ปรากฏในศิลาจารึกหลักที่ 1 นอกจากนี้ยังมีการสร้าง “ตระพัง” หรือสระสำหรับเก็บน้ำ น้ำที่ถูกชักไปตามคลองส่งน้ำและลำเลียงไปสู่กำแพงเมืองเก่าจะไหลเข้าสู่สระ ตระพังเงินสระตระพังทองเพื่อใช้สอยในเมืองและพระราชวังในสมัยสุโขทัย
5. การเคลือบเครื่องปั้นดินเผาสมัยสุโขทัย ในสมัยสุโขทัยมีการปั้นภาชนะด้วยดินเหนียวหรือดินขาว ก่อนนำไปเผาในเตาอุณหภูมิสูงและเคลือบให้สวยงาม ซึ่งเรียกว่า “เครื่องสังคโลก”
สี ของเครื่องเคลือบมักเป็นสีเขียวไข่กามีสีน้ำตาลบ้างประปราย หลักฐานเตาเผาที่ถูกค้นพบเป็นเครื่องบ่งชี้ว่าในสมัยสุโขทัยได้มีการผลิต เครื่องปั้นดินเผาเป็นอุตสาหกรรมเพื่อประโยชน์ใช้สอย และเพื่อค้าขายในชุมชนและหัวเมืองใกล้เคียงด้วย การสร้างสรรค์ภูมิปัญญาไทยสมัยอยุธยา   


การสร้างสรรค์ผลงานด้านภูมิปัญญา ในสมัยอยุธยา มีตัวอย่างพอสังเขป ดังนี้
1. การสร้างสถาบันพระมหากษัตริย์ให้เป็นศูนย์รวมอำนาจ การที่อยุธยาติดต่อค้าขายกับชาวต่างชาติทำให้มีโอกาสได้เรียนรู้ภูมิปัญญา ของชนชาติอื่น และนำมาปรับใช้ให้เกิดประโยชน์กับคนในสมัยนั้น อยุธยาได้นำรูปแบบการปกครองแบบเทวราชาที่เชื่อว่ากษัตริย์คือสมมุติเทพหรือ เทพเจ้าจุติลงมาปกครองประชาชนมาจากเขมรซึ่งรับต่อมาจากอินเดีย การปกครองแบบนี้จะให้ความสำคัญและอำนาจในการปกครองบ้านเมืองกับกษัตริย์ อย่างมาก
2. การแต่งแบบเรียนสำหรับคนไทย พระโหราธิบดีในรัชสมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราชแต่งหนังสือจินดามณีให้ ชาวอยุธยาใช้ในการศึกษาภาษาไทยเพื่อให้อ่านออกเขียนได้ จินดามณีถือเป็นหนังสือแบบเรียนสำหรับคนไทยเล่มแรกในประวัติศาสตร์
3. การพัฒนาองค์ความรู้ด้านการแพทย์แผนไทย บรรดาหมอหลวงในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชได้ร่วมกันรวบรวมตำรับยาต่างๆ ทั้งไทยและเทศขึ้นเป็นครั้งแรกในประวัติการแพทย์ไทยซึ่งเรียกว่า “ตำราพระโอสถพระนารายณ์” ซึ่งตำราเหล่านี้ยังตกทอดมาถึงทุกวันนี้
4. ความเฟื่องฟูทางศิลปกรรมแขนงต่างๆ ในสมัยอยุธยามีการสร้างสรรค์งานศิลปะในหลายแขนง ไม่ว่าจะเป็นสถาปัตยกรรม จิตรกรรม ประติมากรรมหรือประณีตศิลป์ ตัวอย่างศิลปะยุคนี้ ได้แก่ พระเจดีย์ย่อมุมไม้สิบสอง จิตรกรรมฝาผนังโบสถ์และวิหาร งานเครื่องไม้จำหลัก งานปูนปั้น การทำลายรดน้ำ งานประดับมุก รวมไปถึงงานเขียนลวดลายเครื่องเบญจรงค์

การสร้างสรรค์ภูมิปัญญาไทยสมัยธนบุรี

สมัย ธนบุรีเป็นช่วงเวลาสั้นเพียง 15 ปีเท่านั้น ศิลปกรรมต่างๆที่สร้างขึ้นคงเป็นไปตามแบบอย่างของอยุธยา จึงผนวกรวมเข้าไว้ในศิลปวิทยาการสมัยอยุธยา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น