31.การจัดตั้งองค์การสันนิบาตชาติ
การจัดตั้งองค์การสันนิบาตชาติ
องค์การ
สันนิบาตชาติเป็นองค์การกลางระหว่างประเทศ โดยประธานาธิบดี วูดโรว์ วิลสัน
แห่งสหรัฐอเมริกา เพื่อรักษาสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ
และได้สถาปนาเป็นองค์การระหว่างประเทศเมื่อวันที่ 10 มกราคม ค.ศ. 1920
สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ ณ นครเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์
ประเทศ
ที่เป็นฝ่ายชนะในสงครามโลกครั้งที่ 1
ทุกประเทศได้ร่วมลงนามในสนธิสัญญาสันติภาพและเป็นสมาชิกขององค์การสันนิบาต
ชาติโดยอัตโนมัติ
ประเทศที่แพ้สงครามมีสิทธิเข้าเป็นสมาชิกขององค์การนี้ได้แต่ต้องปฏิบัติตาม
สนธิสัญญาสันติภาพให้เรียบร้อยเสียก่อน ส่วนประเทศอื่น
จะเข้าเป็นสมาชิกได้เมื่อได้รับความเห็นชอบจากการออกเสียงสองในสามของประเทศ
สมาชิก
ส่วนสหรัฐอเมริกาแม้จะเป็นผู้ริเริ่มแนวคิดการจัดตั้งองค์การนี้ไม่ได้เป็น
สมาชิก เนื่องจากสภาคองเกรสของสหรัฐอเมริกาไม่ยอมให้สัตยาบัน
องค์การสันนิบาตชาติมีหน้าที่สำคัญสองประการ คือ
- ดูแลให้มีการปฏิบัติเป็นไปตามสนธิสัญญา
- ให้โลกมีสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ
การดำเนินงาน มีองค์กรต่างๆทำหน้าที่และรับผิดชอบ ดังนี้
- สมัชชา เป็นที่ประชุมใหญ่ประกอบด้วยผู้แทนจากประเทศสมาชิกต่างๆ มีสิทธิออกเสียงได้ประเทศละ1 เสียง
- คณะมนตรี ประกอบด้วยสมาชิกประเภทถาวร คืออังกฤษ ฝรั่งเศส อิตาลีญี่ปุ่น เยอรมนี รัสเซีย สำหรับสหรัฐอเมริกาไม่ได้เข้าเป็นสมาชิกเพราะมีนโยบายไม่เข้าไปแทรกแซง กิจการของประเทศยุโรป
- สำนักเลขาธิการ ทำหน้าที่ธุรการทั่วไป
- ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ทำหน้าที่พิจารณากรณีพิพาทระหว่างประเทศสมาชิก มี สำนักงานตั้งอยู่กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์
องค์การแรงงานระหว่างประเทศ มีฐานะเป็นองค์กรอิสระแต่ขึ้นตรงต่อองค์การสันนิบาตชาติโดยตรง
ข้อเสียขององค์การสันนิบาตชาติ
- ไม่ได้รับความร่วมมืออย่างจริงจังจากสหรัฐอเมริกา
- ไม่มีกองกำลังทหารเป็นของตนเอง
- ประเทศสมาชิกคำนึงถึงประโยชน์ของตนมากกว่าการรักษาสันติภาพของโลก
ข้อสังเกต
ใน
การก่อตั้งองค์การสันนิบาตชาติ
ประเทศสหรัฐอเมริกาไม่ได้เข้าเป็นสมาชิกเพราะต้องปฏิบัติตามลัทธิมอนโร
ซึ่งมีนโยบายไม่ยุ่งเกี่ยวหรือผูกพันทางการเมืองกับประเทศทางยุโรป
นับเป็นความบกพร่อง ที่สำคัญที่สุดขององค์การสันนิบาตชาติ
อุปสรรคขององค์การสันนิบาตชาติ
อุปสรรค
สำคัญที่สุดอันหนึ่งคือ ไม่มีสหรัฐอเมริการ่วมเป็นสมาชิกขององค์การด้วย
สันนิบาตชาติ ประชุมกันเป็นสมัยประชุมครั้งสุดท้ายเมื่อ วันที่ 14 ธันวาคม
ค.ศ.1939 และหมดสภาพเป็นองค์การระหว่างประเทศลงเมื่อ วันที่ 1 สิงหาคม ค.ศ.
1946 ทรัพย์สินที่มีอยู่ทั้งหมดได้โอนไปให้แก่องค์การสหประชาชาติ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น