4 ความสัมพันธ์กับชาติตะวันตก
4 ความสัมพันธ์กับชาติตะวันตก
ใน
สมัยอยุธยาชาวตะวันตกจากทวีปยุโรปได้เข้ามามีความสัมพันธ์กับอยุธยาหลายชาติ
การดำเนินการในด้านความสัมพันธ์ของอยุธยามีจุดมุ่งหมายที่สำคัญคือ
- สร้างสัมพันธไมตรี
- รับวิทยาการ เช่นการแพทย์ การศึกษา ก่อสร้าง บุคลากร
- รักษาเอกราชอาณาจักร โดยระบบคานอำนาจในหมู่ชาวตะวันตกด้วยกัน
โปรตุเกส
เป็น
ชาวตะวันตกชาติแรกที่เข้ามาติดต่อค้าขายในสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 พ.ศ.
2054
เนื่องจากโปรตุเกสยึดครองหัวเมืองมะละกาได้เมื่อรู้ว่าเคยเป็นของอยุธยามา
ก่อนจึงได้ส่ง ทูตมาเจริญสัมพันธไมตรี
โดยไทยอำนวยความสะดวกในการค้าและเผยแผ่ศาสนาและโปรตุเกสรับจัดหาปืนและ
กระสุนดินดำให้ฝ่าย
อยุธยาความสัมพันธ์เริ่มเสื่อมเมื่อฮอลันดามาค้ากับอยุธยาจึงก่อความวุ่นวาย
และถูกปราบปรามสมัยพระเจ้าปราสาททอง ความสัมพันธ์จึงเสื่อมลง
ฮอลันดา
ได้
เดินเรือมาติดต่อค้าขายในแถบเอเชียและมีอำนาจมากขึ้นเรื่อยๆและกลายเป็นคู่
แข่งกับโปรตุเกสในปี 2147
สมัยสมเด็จพระนเรศวรบริษัทอินเดียตะวันออกของฮอลันดาได้เข้ามาแทนที่
โปรตุเกสที่เสื่อมอำนาจไป จุดประสงค์เพื่อการค้าอย่างเดียว
อยุธยา
ในสมัยสมเด็จพระเอกาทศรถได้ส่งทูตไทย 16 คน
เพื่อไปดูงานด้านต่อเรือเป็นครั้งแรกของไทยเหตุนี้เองทำให้ฮอลันดาได้สิทธิ
พิเศษทางการค้า ในการซื้อหนังสัตว์ ผู้เดียวทำให้อังกฤษและโปรตุเกสไม่พอใจ
ตอนหลังปลายสมัยพระนารายณ์การค้ากับฮอลันดา เสื่อมลงเนื่อง
จากไม่พอใจระบบผูกขาดสินค้าของไทย
สเปน
ได้
เข้ามาติดต่อสมัยพระนเรศวรพระองค์ทรงมอบช้าง 2 เชือกเป็นบรรณาการ
แก่ผู้สำเร็จราชการสเปนที่มะนิลา ฟิลิปปินส์
ต่อมาเปลี่ยนผู้สำเร็จราชการคนใหม่สเปนจึงส่งราชสาสน์มาขอทำการค้ากับอยุธยา
แต่การค้าไม่รุ่งเรืองเหมือนชาติอื่นๆ
เนื่อง
จากสเปนมุ่งที่จะเผยแผ่ศาสนาคริสต์ในเขมรและค้าขายกับเขมรมากกว่าไทย
และเรื่อสำเภาไทยที่ไปค้าที่ฟิลิปปินส์ได้รับความเดือดร้อนจากการกระทำของ
สเปนพ่อค้าไทยจึงเลิกค้าขายกับสเปน
อังกฤษ
ใน
สมัยพระเจ้าเจมส์ที่ 1 ได้ส่งพระราชสาส์นมากับพ่อค้า
ถึงสมเด็จพระเจ้าทรงธรรมเพื่อติดต่อค้าขายโดยให้อยุธยาเป็นศูนย์การค้าเพื่อ
ไปค้ากับจีนและญี่ปุ่น การค้าไม่ค่อยราบรื่น
เพราะ
มีคู่แข่งสำคัญอย่างโปรตุเกส
และฮอลันดาทำให้อังกฤษถอนสถานีการค้าที่อยุธยาออกไป
มารื้อฟื้นขึ้นใหม่ในสมัยพระนารายณ์
โดยพระองค์ต้องการให้อังกฤษถ่วงดุลอำนาจกับฮอลันดาแต่ไม่สำเร็จ
แถมมีปัญหากันเรื่องการค้าความสัมพันธ์จึงปิดฉากลงตั้งแต่นั้นมา
ฝรั่งเศส
เป็น
ชาติสุดท้ายที่เข้ามาติดต่อค้าขายกับอยุธยา คณะแรกที่เข้ามาเป็นบาทหลวงในปี
พ.ศ. 2205 เนื่องจากสมัยสมเด็จพระนารายณ์ ให้เสรีภาพด้านศาสนา
จึง
ทำให้ในปี 2216 สังฆราชแห่งฝรั่งเศส ได้นำสาส์นพระเจ้าหลุยส์ที่ 14
มาถวายพระนารายณ์ โดยความช่วยเหลือ ออกญาวิชาเยนทร์หรือ( คอนสแตนตินฟอลคอน)
ชาวกรีกที่มารับราชการในอยุธยา สมเด็จพระนารายณ์จึงส่งคณะทูตไปฝรั่งเศสอีก
2 ชุด
ใน
พ.ศ. 2223 และ พ.ศ. 2227 แต่ชุดแรกเรือล่มก่อน ส่วนชุด 2
ได้เข้าเฝ้าพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 และคณะทูต จากฝรั่งเศสก็ติดตามมาด้วยคือ
เชอ วาริเอร์ เดอโชมองต์
โดยคณะทูตชุดนี้ได้มีจุดหมายเพื่อสร้างสัมพันธ์ ทางการค้า และโน้มน้าวให้สมเด็จพระนารายณ์เข้ารีตนับถือคริสต์
ปี
พ.ศ. 2228 คณะทูตฝรี่งเศส เดินทางกลับพร้อมคณะทูตไทย คือออกพระวิสุทธสุนทร
หรือ (ปาน) ความสัมพันธ์กับฝรั่งเศส
มาถึงจุดสุดท้ายช่วงปลายสมัยสมเด็จพระนารายณ์
ออกญา
วิไชเยนทร์ วางแผนร่วมกับชาวฝรั่งเศส เพื่อยึดครองอยุธยา
แต่ไม่ประสบผลสำเร็จ เพราะถูกกวาดล้างเสียก่อนโดยขุนนางไทย คือ
พระเพทราชาและพรรคพวกทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างอยุธยากับฝรั่งเศสสิ้นสุดลง
สรุป
- ความ สัมพันธ์กับชาวตะวันตกส่วนใหญ่จะเป็นทางด้านการค้าเป็นหลักช่วยสร้างความ มั่งคั่งทางเศรษฐกิจแก่อยุธยาอย่างมากแต่มีบางประเทศที่เข้ามาติดต่อโดยมี ศาสนาเป็นเรื่องบังหน้ามีเรื่องการเมืองแอบแฝง เช่น ฝรั่งเศส เป็นต้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น